ยินดีต้อนรับ สู่แหล่งนวัตกรรมการศึกษา โรงเรียนเขาพังไกร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพืันที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12

เทคนิคการสอนภาษา

รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ 10 แบบ


 
          ปัจจุบันการสอนภาษาอังกฤษได้มีวิวัฒนาการ และมีทฤษฎีการสอนหลากหลายวิธี ที่ครูจะเลือกแนวทางที่เหมาะสมนำไป ดัดแปลงใช้สอนนักเรียนแต่ละคน ดังวิธีสอนต่อไปนี้
         1.วิธีการสอนไวยากรณ์และการแปล ( Grammar Translation ) เป็นวิธีการสอนที่เน้นกฎไวยากรณ์และใช้การแปลเป็นสื่อให้นักเรียนเข้าใจบทเรียน
ลักษณะเด่น
           1.1ครูจะบอกและอธิบายกฎเกณฑ์ตลอดจนข้อยกเว้นต่างๆ
           1.2ในด้านคำศัพท์ ครูจะสอนครั้งละหลายคำ บอกคำแปลภาษาไทย บางครั้งเขียนคำอ่านไว้ด้วย
           1.3ครูเน้นทักษะการอ่าน และการเขียน
           1.4ครูเน้นวัดผลด้านความรู้ ความจำ คำศัพท์ กฎเกณฑ์ ความสามารถในการแปล
           1.5ครูมีบทบาทสำคัญมากที่สุด
           1.6นักเรียนเป็นผู้รับฟัง และจดสิ่งที่ครูบอกลงในสมุด
           1.7นักเรียนจะต้องท่องจำกฎเกณฑ์ตลอดจนชื่อเฉพาะต่างๆ ทางไวยากรณ์นั้นๆ
           1.8นักเรียนทำแบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับเกณฑ์ไวยากรณ์นั้นๆ
           1.9นักเรียนได้ฝึกนำศัพท์มาใช้ในรูปประโยค

          2.วิธีสอนแบบตรง เป็นวิธีการสอนที่เน้นทักษะการฟัง และพูดให้เกิดความเข้าใจก่อน แล้วจึงฝึกทักษะการอ่านและการเขียน โดยมีความเชื่อว่า เมื่อนักเรียนสามารถฟังและพูดได้แล้ว ก็จะสามารถอ่านและเขียนได้ง่าย และเร็วขึ้น ไม่เน้นไวยากรณ์มากนัก บทเรียนส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมการสนทนา นักเรียนได้ใช้ภาษาเต็มที่
ลักษณะเด่น
           2.1ครูคอยกระตุ้นให้นักเรียนพูดโต้ตอบ
           2.2ครูสร้างสภาพแวดล้อมหรือใช้สื่อที่เอื้อต่อการเรียนการสอน
           2.3อธิบายคำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ และใช้ตัวอย่างประกอบเป็นของจริง
           2.4การวัดผลเน้นทักษะการฟัง และพูด เช่น การเขียนตามคำบอก การปฏิบัติตามคำสั่ง

           3.วิธีสอนแบบฟัง-พูด ( Audio-Lingual Method ) เป็นวิธีการสอนตามหลัก ภาษาศาสตร์ และวิธีการสอนตามแนวโครงสร้าง เป็นการสอนตามหลักธรรมชาติ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน สอนครบองค์ประกอบตามลำดับจากง่ายไปหายาก
ลักษณะเด่น
          3.1ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาที่เรียนให้แก่ผู้เรียนในการเลียนแบบ
          3.2ครูจะจัดนำคำศัพท์และประโยคมาสร้างเป็นรูปประโยคให้นักเรียนพูดซ้ำๆกัน ในรูปแบบที่
แตกต่างกัน
         3.3ครูมุ่งเรื่องการฝึกรูปประโยคทางภาษาในห้องเรียนมากกว่าประโยชน์การใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน
          3.4นักเรียนจะต้องฝึกภาษาที่เรียนซ้ำๆ
          3.5นักเรียนเป็นผู้ลอกเลียนแบบ และปฏิบัติตามครูจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยากจนเกิดเป็นนิสัย
สามารถพูดได้อย่างอัตโนมัติ

          4.วิธีการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบความรู้ความเข้าใจ ( Cognitive Code Learning Theory ) วิธีการสอนแบบนี้ยึดแนวคิดที่ว่า ภาษาเป็นระบบที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ความเข้าใจ และการแสดงออก ทางภาษาขึ้นอยู่กับความเข้าใจ กฎเกณฑ์ เมื่อผู้เรียนมีความเข้าใจในรูปแบบของภาษาและความหมายแล้ว ก็จะสามารถใช้ภาษาได้
ลักษะเด่น
         4.1ครูมุ่งฝึกทักษะทุกด้านตั้งแต่เริ่มสอน โดยไม่จำเป็นต้องฝึกฟังและพูดให้ดีก่อน แล้วจึงอ่านและเขียนตามวิธีสอนแบบฟัง-พูด ( Audio-Lingual Method )
         4.2ครูสอนเนื้อหาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการที่แตกต่างของนักเรียน ที่มีความสามารถในทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ที่แตกต่างกัน
          4.3สนับสนุนให้ผุ้เรียนใช้ความคิด สติปัญญา และมีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ
          4.4ใช้ภาษาไทยในการช่วยอธิบาย แต่อธิบายเฉพาะในเรื่องการฟังและพูด
          4.5การวัดและประเมินผลในด้านภาษาของนักเรียนนั้น คือ ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาแต่ละขั้นตอน

           5.วิธีการสอนตามเอกัตภาพ ( Individualized Instruction ) ในรูปแบบนี้ ผู้เรียนเริ่มมีบทบาทจากการเป็นผู้รับเพียงฝ่ายเดียวมาเป็นผู้ที่มีส่วนร่วม ในการเรียนการสอนมากขึ้นเป็นลำดับ
ลักษณะเด่น
           5.1การสอนเปลี่ยนจากครูเป็นหลัก กลายเป็นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
           5.2ครูพยายามให้นักเรียนมีโอกาสศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคล
ให้ได้มากที่สุด
           5.3ครูจะเตรียมสื่อ เอกสาร บทเรียน โปรแกรม ชุดการเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนและแนวคำตอบไว้ให้ เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง

          6. วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง ( Total Physical Response Method ) แนวการสอนแบบนี้ให้ความสำคัญต่อการฟังเพื่อความเข้าใจ เมื่อผู้ฟังเข้าใจเรื่องที่ฟังอยู่และสามารถปฏิบัติตามได้ก็จะช่วยให้จำได้ดี
ลักษณะเด่น
          6.1ในระยะแรกของการเรียนการสอน ผู้เรียนไม่ต้องพูด แต่เป็นเพียงผู้ฟังและทำตามครู
          6.2ครูเป็นผู้กำกับพฤติกรรมของนักเรียนทั้งหมด ครูจะเป็นผู้ออกคำสั่งเอง จนถึงระยะเวลาที่
นักเรียนสามารถพูดได้แล้ว จึงเรียนอ่านและเขียนต่อไป
          6.3ภาษาที่นำมาใช้ในการสอนเน้นที่ภาษาพูด เรียนเรื่องโครงสร้างทางไวยากรณ์และคำศัพท์
มากกว่าด้านอื่นๆ โดยอิงอยู่กับประโยคำสั่ง
          6.4นักเรียนจะข้าใจความหมายได้อย่างชัดเจนจากการแสดงท่าทางของครู
          6.5ครูทราบได้ทันทีว่านักเรียนเข้าใจหรือไม่ จากการสังเกตการปฏิบัติตามคำสั่งของนักเรียน

         7. วิธีการสอนแบบอภิปราย ( Discussion Method ) เป็นวิธีการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียน รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม รวมพลังความคิดเพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหา หาข้อเท็จจริง
ลักษณะเด่น
         7.1ฝึกให้นักเรียนกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็นกล้าพูด อย่างมีเหตุผล ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี ฝึกให้เป็นคนมีระเบียบวินัย และอดทนที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
         7.2ครูสร้างสถานการณ์ให้นักเรียนทำงานว่า สมมตินักเรียนจะเข้าค่ายพักแรมเป็นเวลา
5 วัน นักเรียนจะต้องเตรียมเครื่องใช้อะไรไปบ้าง ช่วยกันอภิปรายและสรุปผลออกมาเป็นรายงานส่งครู
เป็นต้น       

         8. วิธีการสอนแบบโครงการ ( Project Method ) เป็นวิธีที่สอนให้ผู้เรียนทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งที่ผู้เรียนสนใจ หรือตามที่ครูมอบหมายให้ทำ
ลักษณะเด่น
         8.1 นักเรียนจะดำเนินการอย่างอิสระ และมีอิสระในการใช้ภาษาอย่างเต็มที่
         8.2ครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะช่วยเหลือและติดตามผลงานของนักเรียนว่าดำเนินการ ความก้าว
หน้า อุปสรรคการประเมินผลงานใดบ้าง

         9. วิธีการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ ( Community Language Learning )
ลักษณะเด่น
        9.1ยึดผู้เรียนเป็นหลัก นักเรียนแต่ละคนจะต้องเข้าร่วมกิจกรรม
        9.2เน้นการพัฒนาความสัพพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนด้วยกัน ทำให้ผู้เรียน
เกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
       9.3ครูทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านภาษาเท่านั้น ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
       9.4เน้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สิ่งที่นำมาเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การฝึกให้
ผู้เรียนใช้โครงสร้างประโยค คำศัพท์และเสียง ตามวิธีการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์
       9.5การประเมินผลการเรียนนั้นจะเป็นการทดสอบแบบบูรณาการ โดยให้นักเรียนประเมินตนเองดูจากการเรียนรู้ของตนเอง และความก้าวหน้าของตน

       10. วิธีสอนตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ( Communicative Approach ) จากข้อเท็จจริงพบว่าถึงแม้นักเรียน จะเรียนรู้โครงสร้างของภาษามาแล้วเป็นอย่างดี แต่ก็ยังไม่สามารถพูดได้หรือสื่อสารได้ดีนัก ด้วยเหตุผลนี้ นักภาษาศาสตร์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนภาษาต่างประเทศ ได้เสนอแนวการสอนแบบใหม่ คือ การสอนเพื่อการสื่อสาร โดยมีความเชื่อว่าภาษาไม่ได้เป็นเพียงระบบไวยากรณ์ที่ประกอบด้วยเสียง ศัพท์ และโครงสร้างเท่านั้น แต่ภาษาคือ ระบบที่ใช้ในการสื่อสาร
            ดังนั้นการสอน จึงควรให้นักเรียนสามารถนำภาษาไปใช้ในการสื่อสารได้ และจะต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมตามสภาพสังคมด้วย


 
เขียนโดย ครูกรรณิกา ดุลย์เภรี  ที่มา : http://www.sahavicha.com