ยินดีต้อนรับ สู่แหล่งนวัตกรรมการศึกษา โรงเรียนเขาพังไกร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพืันที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

 กิจกรรมที่ 3 ขั้นตอนการใช้โปรแกรม SPSS

โปรแกรม SPSS มีประโยชน์อย่างไร? 
ทำไมต้องศึกษา?
  สรุปขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS
เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยมีลำดับขั้นตอนการวิเคราะห์ ดังนี้
          1. การเตรียมข้อมูล  ผู้วิจัยต้องเตรียมเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสมกับการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ (ซึ่งแตกต่างจากการวิเคราะห์ด้วยมือ) โดยในแบบสอบถามนั้นจะต้องกำหนดชื่อตัวแปร (Variable Name) และค่าของตัวแปร (Value) ให้เป็นตัวเลขเท่านั้น
          2. การสร้างแฟ้มข้อมูล  ต้องกำหนดชื่อตัวแปร (Variable Name) ให้สอดล้องกับที่กำหนดไว้ในแบบสอบถาม และสร้างคู่มือลงรหัส (Code book) ที่กำหนดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดชื่อตัวแปร (Variable Name หรือ Name) ตำแหน่งทศนิยมของค่าของตัวแปร (Decimals) คำอธิบายชื่อตัวแปร (Label) ค่าของตัวแปร (Value) ความหมายของค่าของตัวแปร (Value Label) และระดับการวัดข้อมูล (Maesure)
          3. การบันทึกข้อมูล ข้อมูลที่จะบันทึกต้องเป็นตัวเลขเท่านั้น โดยกำหนดค่าของตัวแปรที่เป็นตัวเลือกในแบบสอบถามให้เป็นตัวเลขเสียก่อน
          4. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้โดยง่าย ทั้งค่าสถิติพื้นฐานและค่าสถิติสำหรับทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้คำสั่งจาก Menu bar เลือก Analyze แล้วเลือกค่าสถิติที่ต้องการวิเคราะห์จาก Window ที่ปรากฏตามลำดับ ก็จะได้ผลการวิเคราะห์ตามต้องการ
สรุปขั้นตอนการใช้งานโปรแกรม SPSS (วันที่ 12 ธันวาคม 2553)
-Title Bar         บอกชื่อไฟล์
-Menu Bar       คำสั่งการทำงาน
-Cell Editor      กำหนดค่าตัวแปร
-Cases              ชุดของตัวแปร
-Variable          กำหนดชื่อตัวแปร
-View Bar        มีสองส่วน
     -Variable View  สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร
     --Data View       มุมมองข้อมูล
เพิ่มและแก้ไขตัวแปร
-Status Bar       แสดงสถานการณ์ทำงาน
เปิด SPSS Data Editor
File -> New -> Data
กำหนดชื่อและรายละเอียด
จากหน้าจอ   Variable View
ป้อนข้อมูล    Data View
บันทึกข้อมูล  File -> Save

การกำหนดชื่อและรายละเอียดตัวแปร
ที่หน้าจอ SPSS Data Editor เรียกหน้าจอ Variable View ทำได้ 2 วิธี
1. ดับเบิลคลิกตรงคอลัมน์ของบรรทัดแรก
2. คลิกแถบ Variable View ที่อยู่ด้านล่าง

เมื่อได้หน้าต่างของ Variable View
1. Name  -พิมพ์ใส่ เพศ
2. Type    ประเภทของตัวแปร เลือก Numeric
3. Width  =4      
4. Decimal Places=0
5. Values กำหนดคำอธิบายให้กับค่าตัวแปร
ในที่นี้    ใส่ค่า 1-=ชาย   2-หญิง
6.Missing กำหนดค่าที่ไม่นำไปวิเคราะห์ มี 2 แบบ
     6.1 User Missing ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด เช่น 9, 99, 999, …
     6.2 System Missing โปรแกรมจะกำหนดให้เอง
7. Column จำนวนความกว้างของคอลัมน์ คือจำนวนความกว้างมากสุดของ ค่าตัวแปร
ในที่นี้ใช้เท่ากับ  8
8. Align ให้แสดงค่าตัวแปร ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา   ในที่นี้เลือก  ชิดชวา
9. Measure ระดับการวัดของข้อมูล
    9.1 Scale (Interval, Ratio)  ในที่นี้เลือก  Scale
    9.2 Ordinal
    9.3 Nominal
10. ในช่อง Name  ในที่นี้พิมพ์  a1, a2,a3, a4, b1, b2, b3, b4, c1, c2,c3, c4, และ d1, d2,d3
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบสอบถาม
11.   Width=8      
12. Values กำหนดคำอธิบายให้กับค่าตัวแปร
ในที่นี้    ใส่ค่า 1-น้อยที่สุด   2-น้อย  3-ปานกลาง  4- มาก  5- มากที่สุด
ส่วนรายละเอียดช่องอื่นๆ กำหนดเหมือนกัน
ให้กำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรให้ครบทุกตัว

การวิเคราะห์ข้อมูล
1. transform-compute-พิมพ์หัวข้อ taใน target variable
-เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [a1,a2,a3,a4]/4 คลิก ok
2.transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tbใน target variable
-เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [b1,b2,b3,b4]/4 คลิก ok
3.transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tcใน target variable
-เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [c1,c2,c3,c4]/4 คลิก ok
4. transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tdใน target variable
-เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [d1,d2,d3]/3 คลิก ok
5. transform-compute-พิมพ์หัวข้อ ttใน target variable
-เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [ta,tb,tc,td]/4 คลิก ok
6. การหาค่าความถี่ร้อยละ  คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies
7. จากนั้นเราจะได้กรอบ Frequencies
กรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็นตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
8. เราจะเลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไป อยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร แล้วคลิก OK แสดงประมวลผล
9. การหาค่าทางสถิติพื้นฐาน
- คลิก Analyze>Descriptive Statistic > descriptive แล้วเลือกคำนวณได้ตามความต้องการ เช่น Mean : แสดงค่าเฉลี่ย, Median : แสดงค่ามัธยฐาน, Mode : แสดงค่าฐานนิยม, Sum : แสดงค่าผลรวม เป็นต้น เลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Continue และคลิก  OK
                                                                 The End